นางสาวศุภมาส อิศรภักดี กล่าวถึง สถานการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 ตามมาตราริกเตอร์ บริเวณรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และหลายพื้นที่ในประเทศไทย อว. ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลทั้งด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นศูนย์รวมนักวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และองค์ความรู้ที่จะนำทางประเทศ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือเพื่อผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทาง และความร่วมมือในด้านการวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคคลหรือหน่วยงานในต่างประเทศ ซึ่ง อว. ได้นำทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) แชมป์โลก 10 สมัย เข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ กรณีเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง โครงการอาคารที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ซึ่งอยู่ในระหว่างก่อสร้างบริเวณ ถนนกำแพงเพชร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เกิดถล่มลงมา ทำให้มีผู้บาดเจ็บและสูญหายเป็นจำนวนมาก
ในฐานะ อว. โดย ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ ของ วช. ได้ผลิตผลงานวิจัยเพื่อสนับสนุนข้อมูลในการออกกฎกระทรวงและมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหว ร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา สำหรับระบบตรวจวัดแผ่นดินไหว ร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมืองในการจัดทำคู่มือสำรวจความเสียหายขั้นต้น และร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในการให้ความรู้และบริการวิชาการแก่ประชาชน อีกทั้งยังส่งทีมวิศวกรอาสาของเครือข่าย อว. ร่วมตรวจสอบอาคารต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน และประเมินความเสียหายอาคารเบื้องต้นจากแผ่นดินไหวเพื่อความปลอดภัยต่อตนเองและครอบครัว
ศาสตราจารย์ ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย กล่าวถึงการศึกษาเกี่ยวกับแผ่นดินไหวเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ซึ่งเป็นหนึ่งในรอยเลื่อนที่มีพลังมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รอยเลื่อนดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศเมียนมา และมีศักยภาพในการก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทย โดยพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความอ่อนไหวต่อแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว เนื่องจากลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่ที่เป็นแอ่งดินอ่อน ชั้นดินดังกล่าวสามารถเพิ่มระดับความรุนแรงของการสั่นสะเทือนได้มากกว่าพื้นที่ที่มีชั้นดินแข็งถึงประมาณสามเท่า และกรุงเทพมหานครมีอาคารสูงอยู่เป็นจำนวนมากจึงมีความเสี่ยงต่อ “ปรากฏการณ์กำทอน” (resonance effect) ซึ่งอาจทำให้เกิดการโยกไหวที่รุนแรงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เท่าที่ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ ได้ประเมิน ความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นกับกรุงเทพ มี 3 รูปแบบด้วยกัน คือ
1.แผ่นดินไหวระดับ 7-7.5 ที่ จังหวัดกาญจนบุรี
3.แผ่นดินไหว 8.5-9 ที่แนวมุด อาระกัน (Arakan) ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกของประเทศเมียนมา
และบางส่วนอยู่ในทะเล ซึ่ง 1 ใน 3 ของรูปแบบที่กล่าวมานั้นจะส่งผลให้กรุงเทพมหานครเกิดความเสียหาย
- ประเด็น “ลักษณะการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้”
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภาสกร ปนานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา ธรณีสัณฐานและแผ่นดินไหว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ประเด็น “การออกแบบอาคารในไทยต้านทานแผ่นดินไหว”
โดย ศาสตราจารย์ ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ประเด็น “ระบบตรวจวัดอาคารขณะเกิดแผ่นดินไหว”
โดย ศาสตราจารย์ ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ (EARTH: Earthquake Research Center of Thailand) และอาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
ดำเนินรายการเสวนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ทั้งนี้ การเสวนา “วิจัยมีคำตอบ ลดตระหนก สร้างตระหนัก สู่ทางรอดภัยแผ่นดินไหว” จัดขึ้นเพื่อสร้างการรับรู้ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแผ่นดินไหวแก่ประชาชน โดยเน้นการลดความตระหนกและเพิ่มความตระหนักถึงภัยแผ่นดินไหว รวมถึงนำเสนอแนวทางการรับมือ และการป้องกันที่เหมาะสม ผ่านงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม เช่น ลักษณะการเกิดแผ่นดินไหว การออกแบบอาคาร ที่สามารถต้านทานแผ่นดินไหว และระบบตรวจวัดอาคารขณะเกิดเหตุ นอกจากนี้ยังเป็นเวทีสำหรับผู้เชี่ยวชาญในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ได้จริง
No comments:
Post a Comment