พช. จัดมหกรรมการออม ครบรอบ 51 ปี กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โชว์ผลสำเร็จการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ชูแนวทาง “3พ กำลัง 2” เป็นทิศทางสร้างผลสัมฤทธิ์ ปี 68 - Biznowadays

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Saturday, March 8, 2025

พช. จัดมหกรรมการออม ครบรอบ 51 ปี กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โชว์ผลสำเร็จการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ชูแนวทาง “3พ กำลัง 2” เป็นทิศทางสร้างผลสัมฤทธิ์ ปี 68


วันที่ 7 มีนาคม 2568 เวลา 9.00 น. ณ ห้องสัมมนา 3003 ชั้น 3 กรมการพัฒนาชุมชน อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มอบหมายให้นายนพรัตน์ ธำรงทรัพย์ ผู้อำนวยการกองแผนงาน เป็นประธานงานมหกรรมการออม 51 ปี ทุนชุมชนขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก (ระดับกรมฯ) โดยมีนางสาววนิชดา สร้อยมณี นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงิน เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายสถาพร มุ่งเพียรมั่น ประธานคณะกรรมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ระดับประเทศ เครือข่ายคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 6 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสระบุรี สิงห์บุรี กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา สระแก้ว และพิจิตร ร่วมนำเสนอผลความสำเร็จของการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และส่งเสริมการออมภาคประชาชน


นายนพรัตน์ ธำรงทรัพย์ กล่าวว่า “กรมการพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมาตั้งแต่ปี 2517 ริเริ่มโดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี อดีตอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน โดยเริ่มดำเนินการครั้งแรกจำนวน 2 แห่ง คือ ตำบลขัวมุง อำเภอสารภีจังหวัดเชียงใหม่ และตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2517 ต่อมาได้กำหนดให้วันที่ 6 มีนาคมของทุกปีเป็นวันคล้ายวันก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และกำหนดให้วันที่ 6 - 8 มีนาคม ของทุกปี เป็นสัปดาห์รณรงค์ การประหยัดและการออมของประชาชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นกองทุนชุมชน ที่ส่งเสริมให้ประชาชนมารวมตัวกันออมเงิน ตามศักยภาพของตนเอง เป็นการสร้างหลักประกันสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สมาชิก สามารถต่อยอดธุรกิจชุมชนเพื่อนำผลกำไรไปพัฒนาและจัดสวัสดิการชุมชน เรียกได้ว่ากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นแกนหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ร่วมกันแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน นำไปสู่การลดหนี้ปลดหนี้ สร้างงานสร้างอาชีพให้ครัวเรือน สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคนให้มีศักยภาพในการบริหารจัดการชุมชน เรียนรู้การทำงานร่วมกันในรูปแบบ “กระบวนการกลุ่ม” ใช้ “สัจจะออมทรัพย์” เป็นเครื่องมือในการสร้างวินัยการออม โดยให้หลักคุณธรรม 5 ประการ ในการบริหาร ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเห็นอกเห็นใจ และความไว้วางใจ ปัจจุบัน มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 34,178 กลุ่ม สมาชิก 4.2 ล้านคน มีเงินสัจจะสะสม 31,740 ล้านบาท สมาชิกกลุ่มฯ ได้รับประโยชน์ในการกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพ โดยไม่ต้องอาศัยแหล่งทุนภายนอก 1.03 ล้านคน รวมเป็นเงิน 25,325 ล้านบาท”





เนื่องในวาระครบรอบ 51 ปี กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินกิจกรรมมหกรรมการออม 51 ปี ทุนชุมชนขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก (ระดับกรมฯ) ทั้งนี้ เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ด้านการส่งเสริมการออมภาคครัวเรือน และเป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อนประเด็นเน้นย้ำของอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ในปี 2568 ประเด็นที่ 2 การขับเคลื่อนหมู่บ้าน ทุนชุมชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยทิศทางการขับเคลื่อนงานทุนชุมชนประจำปี 2568 ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วยด้านส่งเสริมการออม ด้านแก้หนี้ครัวเรือน ด้านแหล่งทุนสร้างอาชีพเพิ่มรายได้และด้านป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กรมการพัฒนาชุมชน กำหนดทิศทางการส่งเสริมการออม ภายใต้แนวคิด “3พ ยกกำลัง 2” (พัฒนา พึ่ง เพิ่ม) ประกอบด้วย 1. พัฒนาและยกระดับโรงเรียน กลุ่มออมทรัพย์ฯ ให้มีคุณภาพมาตรฐานและทันต่อสถานการณ์ พัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ให้มีธรรมาภิบาล พัฒนาคุณภาพชีวิต ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก (ส่งเสริมการออม การลงทุน และการประกอบอาชีพ) 2. พึ่งตนเอง พึ่งกันเอง พึ่งเครือข่าย 3. เพิ่มจำนวนสมาชิก เพิ่มเงินออม เพิ่มการจัดตั้งกลุ่มใหม่



ทั้งนี้ ในปี 2568 กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนงานของกรมการพัฒนาชุมชน โดยการฟื้นฟูงานพื้นฐานที่เป็น “แก่น” ของกรมการพัฒนาชุมชน โดยมุ่งหวังให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นกลไกสำคัญที่ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการออมและนำเงินออมไปลงทุน สร้างอาชีพเพื่อให้เกิดรายได้ ดังนั้น ในวาระครบรอบ 51 ปี ของการก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จึงให้ความสำคัญกับการรณรงค์ส่งเสริมการออมภาคครัวเรือน เพื่อเป็น “ทุนชุมชนขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” รวมถึง “การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด” ในหมู่บ้าน/ชุมชน ทำให้ประชาชนมีสุขภาวะทางการเงิน มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นสุข สอดคล้องกับภารกิจของกระทรวงมหาดไทยในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น นำไปสู่สังคมที่สงบสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages