หนึ่งในภูมิภาคที่มีการเติบโตเร็วที่สุดในโลก ล่าสุดได้มีรายชื่อ Fortune 500 เป็นของตัวเองเป็นที่เรียบร้อย
การจัดอันดับครั้งแรกนี้ประกอบด้วยบริษัทจากประเทศไทย 107 แห่ง โดยมี 6 บริษัทที่ถูกจัดอยู่ใน 20 อันดับแรก
ภาคพลังงานสร้างรายได้มากที่สุดโดยมีบริษัทปตท. (PTT) จัดอยู่ในอันดับสอง นอกจากนี้ ซีอีโอบริษัทบ้านปู (BANPU) ยังครองตำแหน่งผู้บริหารที่มีอายุน้อยที่สุดในรายชื่อ ในขณะที่มีซีอีโอหญิงจำนวน 30 คนจาก 500 บริษัท ตอกย้ำถึงความหลากหลายภายในภูมิภาค
ดูรายชื่อบริษัททั้งหมดได้ที่: Fortune.com/asia/ranking/southeast-asia-500/2024/
ประเทศไทย วันที่ 18 มิถุนายน 2567 - วันนี้ทาง Fortune ได้เผยการจัดอันดับ Southeast Asia 500 ปี 2567 เป็นครั้งแรก โดยมีรายชื่อของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถูกจัดอันดับตามรายได้สำหรับปีงบประมาณ 2566 Fortune ได้มุ่งเน้นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นในเศรษฐกิจโลก ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานและการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจในภูมิภาค
การจัดอันดับครั้งแรกนี้ประกอบไปด้วยบริษัทจาก 7 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา โดยอินโดนีเซียครองอันดับหนึ่งด้วยรายชื่อบริษัทติดอันดับสูงสุดถึง 110 บริษัท ในขณะที่ประเทศไทยตามมาด้วย 107 บริษัท มาเลเซีย 89 บริษัท แซงหน้าสิงคโปร์ที่มี 84 บริษัท ตามด้วยเวียดนามที่ติดอันดับ 70 บริษัท ฟิลิปปินส์อยู่ที่ 38 บริษัท และกัมพูชาที่ 2 บริษัท
ในด้านรายได้ บริษัทค้าสินค้าโภคภัณฑ์ Trafigura ของประเทศสิงคโปร์ครองอันดับที่ 1 ด้วยยอดขาย 244 พันล้านดอลลาร์ จากการจำหน่ายแร่ธาตุ โลหะ และพลังงาน โดยมีจำนวนพนักงานน้อยที่สุดในบรรดาบริษัทชั้นนำ 10 อันดับแรก เมื่อพิจารณาตามรายได้ และเป็นบริษัทที่ทำกำไรได้มากเป็นอันดับสองในกลุ่มนี้
บริษัท 10 อันดับแรกใน Southeast Asia 500 เป็นกลุ่มบริษัทที่มีความหลากหลาย โดยภาคพลังงานมีบริษัทที่ติดอันดับสูงสุดจำนวน 3 บริษัทด้วยกัน ได้แก่ปตท. (PTT) ของไทยเข้ามาอยู่ในอันดับที่ 2 Pertamina ของอินโดนีเซียอยู่ในอันดับที่ 3 และบริษัทไฟฟ้าภาครัฐของอินโดนีเซีย Perusahaan Listrik Negara อยู่ในอันดับที่ 6 อีกประเด็นที่น่าสนใจคือสิงคโปร์มีจำนวนบริษัทที่ติดอันดับมากที่สุดใน 10 อันดับแรก โดยมี Trafigura อยู่อันดับแรก ตามมาด้วย Wilmar ที่อันดับ 4 Olam ที่อันดับ 5 Flex ที่อันดับ 8 และ DBS ที่อันดับ 10 นอกจากนี้ ในสิบอันดับแรกยังมี CP All ของไทยอยู่ที่อันดับ 7 และ San Miguel ของฟิลิปปินส์ที่อันดับ 9 อีกสามบริษัทจากไทยที่ติดอันดับ 20 บริษัททำรายได้สูงสุดได้แก่: อินโดรามา เวนเจอร์ส (Indorama Ventures) อยู่ที่อันดับ 14 ปูนซิเมนต์ไทย (Siam Cement) อยู่ที่อันดับ 16 และ ซีพี แอ็กซ์ตร้า (CP Axtra) อยู่ที่อันดับ 19
บริษัทที่ใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกได้รับรายงานว่ามีรายได้ถึง 6.5 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าหนึ่งในสามของรายได้รวมในงบประมาณปี 2566 จากบริษัททั้งหมดใน Southeast Asia 500 ซึ่งมีรายได้ทั้งสิ้น 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ เกณฑ์รายได้ขั้นต่ำในการมีรายชื่ออยู่ใน Southeast Asia 500 คือ 460.8 ล้านดอลลาร์
ด้วยรายได้รวมอยู่ที่ 2.42 แสนล้านดอลลาร์ การธนาคารจึงเป็นภาคส่วนที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สำคัญ ธนาคาร 9 แห่งติดหนึ่งใน 20 บริษัทที่ทำกำไรได้มากที่สุด โดยนำด้วยธนาคาร DBS ของสิงคโปร์ทั้งในด้านรายรับและผลกำไร
ภาพรวมของ Southeast Asia 500 ในปีที่ผ่านมามีรายได้และผลกำไรที่ลดลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้รับผลกระทบจากธุรกิจภาคพลังงานที่ถดถอยลง จึงได้บดบังการเติบโตที่น่าประทับใจในหลายอุตสาหกรรม บริษัทที่มีการเติบโตอย่างน่าประทับใจได้แก่สายการบินเช่น การบินไทย (Thai Airways) บริษัทเหมืองแร่ในอินโดนีเซียเช่น Harita Nickel และ Merdeka Battery Materials รวมถึงบริษัทประกันภัยและธนาคารอีกมากมาย
Clay Chandler บรรณาธิการบริหารประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า "การจัดอันดับ Fortune Southeast Asia 500 สะท้อนให้เห็นถึงภูมิภาคที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจหลักเติบโตเร็วกว่าภูมิภาคยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญมากขึ้นในเศรษฐกิจโลก เนื่องจากบริษัทข้ามชาติที่ติดอันดับ Global 500 หลายแห่งได้ย้ายห่วงโซ่อุปทานการผลิตไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น"
ในการนำเสนอรายชื่อใหม่ที่จะถูกเผยแพร่บน Fortune.com และ Fortune Asia ฉบับเดือนมิถุนายน/ กรกฎาคม คุณ Clay ตั้งข้อสังเกตว่า "Southeast Asia 500 จะติดตามการเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านสินค้าโภคภัณฑ์ การขนส่ง การเงิน การค้าปลีก เทคโนโลยี หรือการให้บริการ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปีต่อ ๆ ไป"
อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ในภูมิภาคที่นักวิเคราะห์ของ Fortune สังเกตเห็น คือการที่มีซีอีโอและประธานบริษัทหญิง ประมาณ 30 คน จากกลุ่ม Southeast Asia 500 และมีซีอีโอที่อายุน้อยที่สุดคือ นายศินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทบ้านปู (BANPU) ของประเทศไทย ซึ่งมีอายุ 34 ปี และได้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยรวมแล้วมีผู้นำในวัย 30 กว่า ๆ ทั้งสิ้น 16 คน ดำรงตำแหน่งซีอีโอ, กรรมการผู้จัดการ, ประธานกรรมการบริหารหรือประธานบริษัท และในจำนวน 500 บริษัทนี้ ว่าจ้างพนักงานรวมแล้วเกือบ 6 ล้านคนด้วยกัน
"เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้เผยแพร่ Southeast Asia 500 ให้กับผู้อ่านของเราทั่วโลก เราได้ต่อยอดจากประวัติศาสตร์ 70 ปีของการเผยแพร่ Fortune 500 ด้วยการจัดลำดับ Southeast Asia 500 ใหม่ล่าสุดนี้ ซึ่งเราจะเน้นไปที่เรื่องราวการเติบโตที่น่าประทับใจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบริษัทอันดับต้น ๆ ที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจอันหลากหลายในภูมิภาคนี้" Khoon-Fong Ang หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการประจำภูมิภาคเอเชียของ Fortune กล่าวทิ้งท้าย
ด้วยการเปิดตัวรายชื่อ Southeast Asia 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทชั้นนำที่ได้รับการยอมรับจากการรวมตัวกันภายใต้กลุ่ม Fortune 500 อันทรงเกียรติ ซึ่งประกอบด้วย Fortune 500 Global, Fortune 500 Europe, Fortune China 500 และ Fortune Southeast Asia 500 ใหม่นี้
รายชื่อและเรื่องราวของ Fortune Southeast Asia 500 จะวางจำหน่ายบนแผงขายหนังสือพิมพ์ทั่วเอเชียตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายนเป็นต้นไป
ข้อมูลเกี่ยวกับ Fortune:
Fortune คือบริษัทสื่อหลายแพลตฟอร์มระดับโลกที่สร้างขึ้นจากการรายงานข้อมูลที่เชื่อถือได้และได้รับรางวัลสำหรับผู้ที่ต้องการทำให้ธุรกิจดีขึ้น โดยมีการดำเนินกิจการอย่างอิสระ นอกจากนี้ยังบอกเล่าเรื่องราวของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของโลกและผู้นำของบริษัทต่างๆ รวมถึงนักนวัตกรรมรุ่นใหม่ที่กำลังขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า Fortune วัดประสิทธิภาพองค์กรผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่เข้มงวด ทั้งในรูปแบบดิจิทัลและสิ่งพิมพ์ และกำหนดให้บริษัทต่างๆ มีความรับผิดชอบในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก การจัดอันดับที่โดดเด่น ได้แก่ Fortune 500 Fortune Global 500 Most Powerful Women และ World's Most Admired Companies
Fortune ยังสร้างกลุ่มเครือข่ายระดับโลกด้วยการเชิญผู้นำทางความคิดในอุตสาหกรรมเข้าร่วมการประชุมสุดยอดและพิเศษที่ทาง Fortune ได้จัดขี้น รวมถึง Fortune Global Forum และ Brainstorm Tech สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ fortune.com.
ภาคผนวก 1: 20 อันดับบริษัท Southeast Asia 500 เรียงตามรายได้และผลกำไร
บริษัท 20 อันดับแรกตามรายได้ | |||
อันดับ | บริษัท | ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ | ประเภทธุรกิจ |
1 | Trafigura Group | สิงคโปร์ | ซื้อขายสินค้า |
2 | PTT | ประเทศไทย | การกลั่นปิโตรเลียม |
3 | Pertamina | อินโดนีเซีย | การกลั่นปิโตรเลียม |
4 | Wilmar International | สิงคโปร์ | การผลิตอาหาร |
5 | Olam Group | สิงคโปร์ | จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค |
6 | Perusahaan Listrik Negara | อินโดนีเซีย | สินค้าสาธารณูปโภค การจำหน่ายแก๊สและไฟฟ้า |
7 | CP All | ประเทศไทย | อาหารและยา |
8 | Flex | สิงคโปร์ | สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า |
9 | San Miguel | ฟิลิปปินส์ | เครื่องดื่ม |
10 | DBS Group Holdings | สิงคโปร์ | ธนาคารพาณิชย์ |
11 | United Overseas Bank | สิงคโปร์ | ธนาคารพาณิชย์ |
12 | Oversea-Chinese Banking | สิงคโปร์ | ธนาคารพาณิชย์ |
13 | Charoen Pokphand Foods | ประเทศไทย | การผลิตอาหาร |
14 | Indorama Ventures | ประเทศไทย | ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ |
15 | Bank Rakyat Indonesia | อินโดนีเซีย | ธนาคารพาณิชย์ |
16 | Siam Cement | ประเทศไทย | วัสดุก่อสร้าง กระจก |
17 | Maybank | มาเลเซีย | ธนาคารพาณิชย์ |
18 | Singapore Airlines | สิงคโปร์ | สายการบิน |
19 | CP Axtra | ประเทศไทย | อาหารและยา |
20 | Sea | สิงคโปร์ | บริการอินเทอร์เน็ตและการค้าปลีก |
20 อันดับบริษัทที่ทำกำไรได้มากที่สุด | |||
1 | DBS Group Holdings | สิงคโปร์ | ธนาคารพาณิชย์ |
2 | Trafigura Group | สิงคโปร์ | ซื้อขายสินค้า |
3 | Oversea-Chinese Banking | สิงคโปร์ | ธนาคารพาณิชย์ |
4 | Pertamina | อินโดนีเซีย | การกลั่นปิโตรเลียม |
5 | United Overseas Bank | สิงคโปร์ | ธนาคารพาณิชย์ |
6 | Bank Rakyat Indonesia | อินโดนีเซีย | ธนาคารพาณิชย์ |
7 | Bank Mandiri | อินโดนีเซีย | ธนาคารพาณิชย์ |
8 | PTT | ประเทศไทย | การกลั่นปิโตรเลียม |
9 | Bank Central Asia | อินโดนีเซีย | ธนาคารพาณิชย์ |
10 | Keppel | สิงคโปร์ | อสังหาริมทรัพย์ |
11 | Maybank | มาเลเซีย | ธนาคารพาณิชย์ |
12 | Singapore Airlines | สิงคโปร์ | สายการบิน |
13 | Adaro Energy Indonesia | อินโดนีเซีย | การทำเหมืองแร่ การผลิตน้ำมันดิบ |
14 | Singtel | สิงคโปร์ | โทรคมนาคม |
15 | Telkom Indonesia | อินโดนีเซีย | โทรคมนาคม |
16 | MIND ID | อินโดนีเซีย | การทำเหมืองแร่ การผลิตน้ำมันดิบ |
17 | CIMB Group Holdings | มาเลเซีย | ธนาคารพาณิชย์ |
18 | Wilmar International | สิงคโปร์ | การผลิตอาหาร |
19 | Public Bank | มาเลเซีย | ธนาคารพาณิชย์ |
20 | Perusahaan Listrik Negara | อินโดนีเซีย | สินค้าสาธารณูปโภค การจำหน่ายแก๊สและไฟฟ้า |
ระเบียบวิธี
บริษัทต่างๆ ได้รับการจัดอันดับตามรายได้รวมสำหรับปีงบประมาณล่าสุดที่สิ้นสุดในหรือก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2023 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น บริษัททั้งหมดที่อยู่ในรายชื่อจะต้องเผยแพร่ข้อมูลทางการเงินและรายงานตัวเลขบางส่วนหรือทั้งหมดต่อหน่วยงานของรัฐ ตัวเลขเป็นไปตามที่รายงาน และการเปรียบเทียบกับตัวเลขของปีก่อนสำหรับปีนั้น ตัวเลขรายได้และกำไรสำหรับบริษัทที่รายงานในสกุลเงินท้องถิ่นของตนจะถูกแปลงเป็นดอลลาร์สหรัฐตามอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยในช่วงปีบัญชีของแต่ละบริษัท (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น)
รายได้
ตัวเลขรายได้ประกอบด้วยบริษัทในเครือและรายได้ที่รายงานจากการดำเนินงานที่ยกเลิก สำหรับธนาคารรายได้คือผลรวมของรายได้ดอกเบี้ยรวมและรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย สำหรับบริษัทประกันภัยรายได้ประกอบด้วยรายได้เบี้ยประกันภัยและรายได้งวดปี รายได้จากการลงทุน กำไรหรือขาดทุนจากการลงทุนที่รับรู้ และรายได้อื่นๆ แต่ไม่รวมเงินฝาก
ผลกำไร
กำไรจะแสดงหลังหักภาษี เครดิตหรือค่าธรรมเนียมพิเศษ และผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงทางบัญชี ก่อนเงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ สำหรับกำไรจากส่วนได้เสียที่ไม่มีการ ควบคุม (ส่วนน้อย) จะไม่รวมอยู่ด้วย ในด้านของ REIT และ Trusts จำนวนเงินที่สามารถจัดสรรให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนจะแสดงเป็นกำไร ตัวเลขในวงเล็บแสดงถึงการสูญเสีย กำไรที่ลดลงมากกว่า 100% สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงจากผลกำไรในปี 2565 ไปสู่การขาดทุนในปี 2566
งบดุล
สินทรัพย์ ณ สิ้นปีบัญชีของบริษัท ตัวเลขจะถูกแปลงเป็นดอลลาร์สหรัฐตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้นปีบัญชีของแต่ละบริษัท
ภาคผนวก 3: Fortune Southeast Asia 500 ฉบับเดือนมิถุนายน/กรกฎาคม
No comments:
Post a Comment