QTC ร่วมกับ BBGI -SCGC ประกาศความสำเร็จการทดลองน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ ‘Bio-Based Transformer Oil’ เริ่มนำร่องที่ จ.ระยอง พร้อมขยายผลเชิงพาณิชย์ - Biznowadays

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Monday, June 3, 2024

QTC ร่วมกับ BBGI -SCGC ประกาศความสำเร็จการทดลองน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ ‘Bio-Based Transformer Oil’ เริ่มนำร่องที่ จ.ระยอง พร้อมขยายผลเชิงพาณิชย์

QTC

 


 
pic-QTC%20%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%20BBGI%20-SCGC%20%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E

กรุงเทพฯ- บมจ.คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ (QTC) พร้อมพันธมิตร BBGI-SCGC ประกาศความสำเร็จอีกขั้นของความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ Green Innovation ใน “โครงการพัฒนาและผลิตน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ (Bio-Based Transformer Oil) จากน้ำมันปาล์ม” โดยได้ทดลองใช้งานในหม้อแปลงไฟฟ้าจริง ได้ผลตามมาตรฐานสากล มีความปลอดภัยในการใช้งาน พร้อมส่งมอบให้ลูกค้านำร่องเป็นครั้งแรกที่ จ. ระยอง เตรียมต่อยอดการผลิตเชิงพาณิชย์ ช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่นโยบายเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ (Bio-Based Transformer Oil) จากน้ำมันปาล์มทำหน้าที่เป็นฉนวนไฟฟ้าและช่วยระบายความร้อนภายในหม้อแปลงไฟฟ้า

โครงการพัฒนาและผลิตน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพโดยใช้น้ำมันปาล์ม สอดคล้องกับนโยบายพลังงานสะอาดและนโยบายเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ของภาครัฐ รวมถึงมาตรการส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมันของคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ที่ต้องการกระตุ้นปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มผ่านความต้องการใช้น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพในประเทศไทย ทั้งนี้ถือว่าเป็นการการต่อยอดและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากน้ำมันปาล์ม สามารถเป็นทางเลือกในการรองรับปริมาณน้ำมันปาล์มซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศในอนาคตได้ นอกจากนั้นยังเป็นการลดการนำเข้าน้ำมันหม้อแปลงชีวภาพจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตหม้อแปลงจะต้องมีการนำเข้าน้ำมันหม้อแปลงชีวภาพจากต่างประเทศมาเพื่อใช้งาน 100%

นายพูลพิพัฒน์ ตันธนสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ QTC ผู้ผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้าตามคำสั่งซื้อของลูกค้า (Made to Order) และตัวแทนจำหน่ายแผงโซลาร์เซลล์ Longi (ลองจิ) และอินเวอร์เตอร์ ของ Huawei (หัวเว่ย) กล่าวถึงความสำเร็จในโครงการฯ ว่า “ในแง่คุณสมบัติของน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพเมื่อเทียบเคียงผู้ผลิตตลาดต่างประเทศ ถือว่ามีความได้เปรียบในด้านค่าความหนืดที่ใกล้เคียงกับน้ำมัน Mineral Oil ซึ่งสามารถนำมาใช้ทดแทนได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมาตรฐานการออกแบบหม้อแปลงไฟฟ้า นอกจากนี้น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าสามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้สูง (Dielectric Breakdown Voltage) จุดวาบไฟ (Flash Point) และจุดติดไฟ (Fire Point) มีค่าสูง ส่งผลให้มีความปลอดภัยในการใช้งานเป็นอย่างมาก อีกทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นายกิตติพงศ์ ลิ่มสุวรรณโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ BBGI กล่าวถึง ความสำเร็จของโครงการพัฒนาและผลิตน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ (Bio-Based Transformer Oil) จากน้ำมันปาล์ม ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง บริษัท บีบีจีไอ ไบโอดีเซล จำกัด หรือ BBGI BI บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC และ บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ QTC ว่า “การทดลองเพื่อผลิตน้ำมันหม้อแปลงชีวภาพได้ผลที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลของน้ำมันหม้อแปลงชนิดจุดติดไฟสูง (High Fire Point) หรือ IEC 62770 เป็นซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวทำให้มีความปลอดภัยในการใช้งานสูง อีกทั้งสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ (biodegradable) จึงได้มีการเติมในหม้อแปลงไฟฟ้าจริงและส่งมอบให้ลูกค้าเอกชนใช้งานเป็นครั้งแรกที่ จ. ระยอง รวมถึงเตรียมความพร้อมขยายผลในเชิงพาณิชย์ต่อไป”

นายสุเมธ เจริญชัยเดช Central Research and Development Director บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC กล่าวเสริมถึงความสำเร็จนี้ว่า “SCGC ผู้เชี่ยวชาญด้าน Green ได้ใช้เทคโนโลยีตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) ซึ่งเป็นสารสำคัญในการเปลี่ยนน้ำมันปาล์มให้กลายเป็นน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพที่มูลค่ามากขึ้น โดยการพัฒนาในครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันแบบ Open Innovation เพื่อดึงศักยภาพของแต่ละภาคส่วนมาใช้ในโครงการอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายในการผลิตน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพจากน้ำมันปาล์มให้ได้ตามมาตรฐานระดับโลก IEC 62770 จนนำไปสู่การใช้งานจริง นับเป็นก้าวสำคัญต่อเศรษฐกิจชีวมวล (Bio-Economy) ที่ประเทศไทยสามารถผลิตน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพได้เองภายในประเทศ ส่งผลให้เกิดการทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ พร้อมทั้งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ส่งเสริมประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างเป็นรูปธรรม”

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad





Pages