พช.นำทัพผู้ประกอบการ OTOP ทดสอบตลาดในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Thai OTOP Product – Thai Food Festival”บริเวณตลาดThai Souq in Souk Al Marfa ณ นครดูไบ
เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2566 ที่ตลาด Souk Al Marfa นครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มอบหมายให้ นายกิติพล เวชกุล ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานในงานกิจกรรมทดสอบตลาด “Thai OTOP Products Open Market to The Middle East ในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกลุ่มคลัสเตอร์ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกลุ่มคลัสเตอร์ประเภทอาหารและประเภทเครื่องดื่ม ระหว่างวันที่ 7 – 10 กันยายน 2566 ในบริเวณตลาดThai Souq in Souk Al Marfa ณ นครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
โดยวันที่ 7 กันยายน 2566 นายกิติพล เวชกุล ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยนางทศมนพร พุทธจันทรา ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่โครงการ และผู้ประกอบการ เข้าพบนายปิติชัย รัตนนาคะ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครดูไบ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอคำแนะนำในการนำสินค้าโอทอปที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย บนบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การพัฒนากลยุทธ์การตลาดระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ที่เข้ามาจำหน่ายสินค้า ณ นครดูไบ และความเป็นได้ในร่วมมือระหว่างกรมการค้าระหว่างประเทศกับกรมการพัฒนาชุมชนในอนาคตต่อไปนายกิติพล เวชกุล ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยว่า การจัดงาน “Thai OTOP Product – Thai Food Festival” ณ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ตามกลุ่มคัตเตอร์ โดยกรมพัฒนาชุมชนได้เปิดโอกาสให้ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและเครื่องดื่มจำนวน 96 ผลิตภัณฑ์ จาก 963 ผลิตภัณฑ์ในโครงการฯ ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่การพัฒนาอย่างครบวงจร โดยยึดหลักการตลาดนำการผลิต ตลอดจนการส่งเสริมการขายทั้งตลาดออฟไลน์ และออนไลน์เพื่อขยายฐานลูกค้า รวมไปถึงสร้างโอกาสให้สามารถเข้าถึงได้ทั้งลูกค้าชาวไทยและต่างชาติ
สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ได้นำผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ จำนวน 3 ราย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทาร์ตเนยสดผลไม้ จังหวัดสมุทรปราการ , ผลิตภัณฑ์ผงมัสมั่นสำเร็จรูป จังหวัดเชียงใหม่ , ผลิตภัณฑ์เยลลี่ส้มโอ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้นำนวัตกรรมที่ทันสมัยออกไปอวดโฉมให้ลูกค้าชาวไทยและต่างชาติ เพื่อขยายฐานลูกค้าสร้างโอกาสให้สามารถเข้าถึง ผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น ทั้งนี้ได้มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นรวม จำนวน 96 ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจมาจัดแสดงจำหน่าย ชม ชิม ให้กับผู้เข้าร่วมงานได้สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ในโครงการ เพื่อเปิดตลาดในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เนื่องจากตลาดอาหารและเครื่องดื่มในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นตลาดที่มีความน่าสนใจอย่างมาก
ด้วยจากหลากหลายปัจจัย ทั้งรายได้ประชากรต่อหัวที่อยู่ในระดับสูง การเพิ่มขึ้นของกำลังแรงงาน ความนิยมในการบริโภคเครื่องปรุงรสและอาหารไทยในอันดับต้น ๆ และเห็นว่าศักยภาพของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นจุดเริ่มต้นในการเจาะตลาดตะวันออกกลาง เพราะนอกจากการเข้าถึงตลาดในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยังมีโอกาสในการเข้าถึงตลาดตะวันออกกลางที่ชื่นชอบอาหารไทย อาทิ ประเทศซาอุดิอาระเบีย โอมาน กาตาร์ ซึ่งมีโอกาสในการขยายตลาดที่ดีต่อไปในอนาคต
No comments:
Post a Comment