ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป คือผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกรรมวิธีเพื่อให้อาหารทะเลสามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสื่อมสภาพ และด้วยวิกฤตการณ์ Covid-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้การบริโภคอาหารที่บ้านและการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปที่สามารถปรุงได้ง่ายและสะดวกจึงเพิ่มมากขึ้น เรามาทำความรู้จักกับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปจากเกาหลีที่ช่วยทำให้อิ่มท้องในแต่ละมื้ออาหารกันเถอะเมื่อเอ่ยถึงเกาหลีและผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปแล้วนั้น สิ่งแรกที่ต้องนึกถึงคือเสน่ห์ของสาหร่ายปรุงรสสาหร่ายเป็นพืชทะเลที่มีการเพาะเลี้ยงมากในพื้นที่รอบชายฝั่งทะเลตอนใต้ของเกาหลี สามารถทาน้ำมันงาและเอาไปย่างหรือเอาไปทอดเป็นสาหร่ายทอดกรอบเพื่อรับประทานก็ได้
โดยส่วนใหญ่ สาหร่ายปรุงรสจะทำการย่างสาหร่ายที่อุณหภูมิ 180-200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5-20 วินาที ก่อนจะทาด้วยซอสปรุงรสที่มีส่วนผสมของซอสถั่วเหลือง น้ำซุป และเครื่องเทศลงไปทั้งสองด้านของสาหร่ายอย่างทั่วถึง ก่อนจะให้ความร้อนและตากแห้ง ในปัจจุบัน มีสาหร่ายปรุงรสที่แบ่งใส่ห่อในปริมาณที่พอดีกับมื้ออาหารทำให้สาหร่ายไม่ชื้นและเหนียว ช่วยให้เราได้เพลิดเพลินกับความกรอบอร่อยของสาหร่าย เมื่อวางสาหร่ายห่อลงไปบนข้าวสวยร้อนๆ คุณก็จะกินข้าวหมดจานได้ทันทีในชั่วพริบตา นอกจากนี้ สาหร่ายสามารถกินเล่นยามท้องว่างได้อีกด้วย โดยใช้สาหร่ายทำเป็นขนมขบเคี้ยวคลุกเคล้ากับถั่ว วาซาบิ หรือส่วนผสมอื่นๆ ก็จะได้เป็นสาหร่ายรสชาติใหม่ที่ให้เนื้อสัมผัสที่กรอบอร่อยแตกต่างไปจากเดิม
ลำดับสุดท้าย คือ ออมุกหรือลูกชิ้นปลาแผ่นแปรรูปที่เด้งดึ๋งแสนอร่อยที่หลายคนชื่นชอบ ออมุกเป็นอาหารแปรรูปที่ทำจากเนื้อปลาบดผสมกับผงปรุงรสเกลือและผักก่อนจะทำให้สุก ผู้ที่ปกติไม่ชอบกินปลาก็สามารถกินได้ง่ายๆเพราะไม่ส่งกลิ่นคาวและไม่มีก้าง โดยทั่วไป ออมุกที่เหนียวนุ่มและเด้งดึ๋งจะกินพร้อมกับน้ำซุปร้อนๆ นอกจากนี้ก็ยังมีออมุกเสียบไม้ หรือทำเป็นเครื่องเคียงอย่างออมุกผัดและใส่ลงไปในอาหารประจำชาติเกาหลีอย่างต๊อกบกกี เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปยังมีอีกหลายชนิด และการแปรรูปของแต่ละอาหารทะเลก็มีวิธีการเก็บรักษาและการรับประทานที่สะดวกสบายมากขึ้น อยากให้ทุกท่านได้ลองเพลิดเพลินกับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปจากเกาหลีที่มีให้เลือกสรรหลากหลายชนิดกันดูค่ะ
Buyerผลิตภัณฑ์ทางทะเลที่มีความสนใจการนำเข้าผลิตภัณฑ์การประมงของเกาหลี สามารถเข้าเยี่ยมชมศูนย์สนับสนุนการค้าระหว่างประเทศกรุงเทพฯ ของสหกรณ์การประมงแห่งชาติเกาหลี หรือติดต่อเพื่อเข้าร่วมและรับคำปรึกษาด้านการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงเกาหลีหลากหลายชนิดในประเทศไทย ได้ทั้งทางอีเมล (kfishbkk@gmail.com) และหมายเลขโทรศัพท์ (02-057-4030)
No comments:
Post a Comment