สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนธันวาคม 2566 - Biznowadays

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Thursday, February 15, 2024

สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนธันวาคม 2566


ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนธันวาคม 2566

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 483.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 314.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.4 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 169.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.3 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 404.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.0 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 225.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.6 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 179.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 โดยภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 78.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

และภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม) พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 6,033.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออก (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 3,993.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.0 และ (2) การส่งออก (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 2,040.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.4 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้า ในปี พ.ศ. 2566 ของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 5,074.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.2 แบ่งเป็น (1) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 3,210.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.0 และ (2) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 1,864.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้า (สะสม) เกินดุล คิดเป็นมูลค่า 959.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


 

ภาพที่ 2 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก





เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกใน 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า การส่งออกปรับตัวลดลงเกือบทุกรายการผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY)


ภาพที่ 3 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ เดือนธันวาคม 2566 และภาพรวมในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม)






การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ ในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 73.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ปากีสถาน และบังกลาเทศ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0, 118.9 และ 36.1 ตามลำดับ

และการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ ในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม) พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 1,020.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดจีนและปากีสถาน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.2 และ 33.3 ขณะที่การส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาในปีดังกล่าว พบว่า ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.5


 

ภาพที่ 4 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนธันวาคม 2566 และภาพรวมในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม)

การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 39.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดหลัก 3 อันดับแรกที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.4, 2.5 และ 22.6 ตามลำดับ

และการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม) พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 502.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 28.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดหลัก 3 อันดับแรกที่ปรับตัวลดลงเช่นกัน ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย ปรับตัวลดลงร้อยละ 20.0, 19.7 และ 11.6 ตามลำดับ


 

ภาพที่ 5 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนธันวาคม 2566 และภาพรวมในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม)

การส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 90.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกผ้าผืนไปยังตลาดกัมพูชาและบังกลาเทศ ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.2 และ 31.1 ขณะที่การส่งออกผ้าผืนของไทยไปยังตลาดเวียดนามในเดือนนี้ พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2

และการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม) พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 1,056.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดหลัก 3 อันดับแรกที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา ปรับตัวลดลงร้อยละ 16.0, 14.9 และ 30.3 ตามลำดับ


ภาพที่ 6 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนธันวาคม 2566 และภาพรวมในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม)

การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 169.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเบลเยียม ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.0, 10.8 และ 10.9 ตามลำดับ

และการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม) พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 2,040.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดหลัก 3 อันดับแรกที่ปรับตัวลดลงเช่นกัน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเบลเยียม ปรับตัวลดลงร้อยละ 20.3, 5.8 และ 35.3 ตามลำดับ



ภาพที่ 7 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก

เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า นำเข้าลดลงในทุกรายการผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และลดลงเกือบทุกรายการผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ยกเว้นผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 (YoY) โดยเป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการเข้าสู่ช่วงเทศกาลเฉลิมฉลอง ซึ่งส่งผลให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยและการบริโภคเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี

 

 

ภาพที่ 8 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนธันวาคม 2566 และภาพรวมในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม)

การนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 95.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 24.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดนำเข้า 3 อันดับแรก พบว่า นำเข้าเส้นด้ายลดลงจากตลาดจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม ลดลงร้อยละ 9.8, 21.6 และ 24.9 ตามลำดับ

และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม) พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 1,459.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 22.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดนำเข้า 3 อันดับแรก พบว่า นำเข้าลดลงจากตลาดจีนและสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 14.4 และ 34.3 ขณะที่การนำเข้าเส้นด้ายของไทยจากตลาดญี่ปุ่นในปีนี้ พบว่า ค่อนข้างทรงตัว โดยนำเข้าเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1




ภาพที่ 9 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนธันวาคม 2566 และภาพรวมในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม)







การนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 129.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้าลดลงร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดนำเข้า 3 อันดับแรก พบว่า นำเข้าผ้าผืนลดลงจากตลาดจีนและไต้หวัน ลดลงร้อยละ 1.3 และ 17.9 แต่นำเข้าผ้าผืนจากตลาดเวียดนามในเดือนนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6

และการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม) พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 1,750.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดนำเข้า 3 อันดับแรก พบว่า นำเข้าลดลงจากตลาดจีนและไต้หวัน ลดลงร้อยละ 12.5 และ 35.0 ขณะที่การนำเข้าผ้าผืนของไทยจากตลาดเวียดนามในปีนี้ พบว่า นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5



ภาพที่ 10 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนธันวาคม 2566 และภาพรวมในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม)



การนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 133.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดนำเข้า 3 อันดับแรก พบว่า นำเข้าเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นจากตลาดจีน อิตาลี และเวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.6, 9.3 และ 11.3 ตามลำดับ

และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม) พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 1,359.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในตลาด 3 อันดับแรกเช่นเดียวกัน ได้แก่ จีน อิตาลี และเวียดนาม นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9, 27.7 และ 24.7 ตามลำดับ


ภาพที่ 11 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM)

ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนธันวาคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยมีรายละเอียดในภาพรวมของการส่งออกในแต่ละผลิตภัณฑ์มีดังนี้

การส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ในภาพรวม ลดลงร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) แต่หากพิจารณาถึงการส่งออกในรายตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ปากีสถาน และบังกลาเทศ พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5, 40.6 และ 8.5 ตามลำดับ

การส่งออกเส้นด้ายในภาพรวม ลดลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) แต่หากพิจารณาถึงการส่งออกในรายตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6, 5.0 และ 16.3 ตามลำดับ

สำหรับการส่งออกผ้าผืนในภาพรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกผ้าผืนไปยังตลาดเวียดนาม กัมพูชา และบังกลาเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7, 8.8 และ 49.8 ตามลำดับ

และการส่งออกเครื่องนุ่งห่มในภาพรวม ลดลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 15.0 ขณะที่การส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกาและเบลเยียมในเดือนนี้ พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 และ 6.6


ภาพที่ 12 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM)






และมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนธันวาคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการนำเข้าใน 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยมีรายละเอียดในภาพรวมของการนำเข้าในแต่ละผลิตภัณฑ์มีดังนี้

การนำเข้าเส้นด้ายในภาพรวมเดือนนี้ ลดลงร้อยละ 17.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดจีนและญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 27.3 และ 25.1 ขณะที่การนำเข้าเส้นด้ายของไทยจากตลาดเวียดนามในเดือนนี้ พบว่า ค่อนข้างทรงตัว โดยนำเข้าเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.01

การนำเข้าผ้าผืนในภาพรวมเดือนนี้ ลดลงร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดจีน เวียดนาม และไต้หวัน ลดลงร้อยละ 10.6, 11.0 และ 19.4 ตามลำดับ

และการนำเข้าเครื่องนุ่งห่มในภาพรวมเดือนนี้ ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดเวียดนาม ลดลงร้อยละ 14.3 ขณะที่การนำเข้าเครื่องนุ่งห่มของไทยจากตลาดจีนและอิตาลีในเดือนนี้ พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และ 1.8


ภาพที่ 13 สรุปภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ (5 อันดับแรก) เดือนธันวาคม 2566 และสรุปปี พ.ศ.2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม)






สรุปภาพรวมการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนธันวาคม 2566 มีมูลค่า 483.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยเป็นการปรับตัวลดลงตลอด Supply Chain ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 ของปี พ.ศ.2566 และเมื่อพิจารณาในภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ ใน 5 อันดับแรก จัดเรียงตามมูลค่าการส่งออกในเดือนดังกล่าว พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกตลาด ยกเว้นการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นที่ในเดือนนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.4 (YoY)

และภาพรวมการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคม-ธันวาคม) พบว่า ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขณะเดียวกันตลาดส่งออกสำคัญ ใน 5 อันดับแรก พบว่า การส่งออกไปยังตลาดจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 (YoY)

สำหรับแนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในปี พ.ศ. 2567 คาดการณ์ว่า การผลิต คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และนโยบายแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การส่งออกและจำหน่ายในประเทศ คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการส่งออกสินค้าเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องของประเทศเศรษฐกิจหลัก การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ การขาดแคลนพลังงานในทวีปยุโรป อาจเป็นปัจจัยกดดันที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว รวมทั้งการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าและค่าจ้างแรงงาน ซึ่งจะกระทบต่อต้นทุนการผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มด้วยเช่นกัน

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad





Pages